‘คนไทยเหมือนไก่อยู่ในเข่งจิกตีกันร่ำไป’ วิธีออกจาก ‘เข่ง’

ศ.นพ.ประเวศ วะสี ราษฎรอาวุโส เผยแพร่บทความเรื่อง “คนไทยเหมือนไก่อยู่ในเข่งจิกตีกันร่ำไป” วิธีออกจาก “เข่ง” โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

มีผู้กล่าวว่า“คนไทยเหมือนไก่อยู่ในเข่ง”จิกตีกันร่ำไปทั้งๆที่จะถูกนำไปเชือดหมดทุกตัวแต่ถึงจะจิกตีกันจนเลือดตกยางออกหรือล้มตายก็ออกจากเข่งไม่ได้เพราะ“เข่ง” คือโครงสร้างอันแน่นหนา

คนไทยติดอยู่ในโครงสร้างอะไรที่เปรียบประดุจ “เข่ง” ที่กักขังคนไทยไว้ให้จิกตีกันที่สังคมไทยขัดแย้งดิ้นรนต่อสู้กันมาเป็นเวลาเกือบ๑ศตวรรษคืออาการของความพยายามจะหาทางให้“บ้านเมืองลงตัว”ซึ่งถ้าลงตัวก็สงบสันติและพัฒนาไปสู่ความเจริญได้อย่างแท้จริงแต่ก็ยังไม่พบวิธีที่จะทำให้บ้านเมืองลงตัวจึงขัดแย้งกันเรื่อยมาโดยปะทุเป็นความรุนแรงหลายครั้งหลายครา

ทุกฝ่ายจะต้องช่วยกันหาให้พบว่าจุดที่จะทำให้บ้านเมืองลงตัวที่เห็นร่วมกันคืออะไรถ้าหาจุดนี้ได้ทุกฝ่ายก็จะมีเป้าหมายร่วมและร่วมกันขับเคลื่อนไปสู่ความลงตัวของบ้านเมือง

จุดนี้บัดนี้ไม่อยากแล้ว

เพราะเป็นเหมือนกันทั่วโลกปัญหาใหญ่และยากที่สุดของโลกในขณะนี้คือ“ความเหลื่อมล้ำ”ที่มากอย่างสุดๆอะไรที่เหลื่อมล้ำมากก็เสียสมดุลเมื่อเสียสมดุลก็ปั่นป่วนวุ่นวายรุนแรงทำนองเดียวกับการเกิดฟ้าผ่าแผ่นดินไหวภูเขาไฟระเบิดอันเกิดจากการเสียสมดุลของพลังความเหลื่อมล้ำเกิดจากปัญหาทางโครงสร้างหลายอย่างที่ถักทอกันอย่างแน่นหนาที่แม้แต่ประเทศที่เป็นต้นแบบของเสรีภาพและประชาธิปไตยอย่างอังกฤษและสหรัฐอเมริกาก็ยังเอาไม่อยู่เพราะทั้งสองประเทศก็เกิดความเหลื่อมล้ำสุดๆและมีปัญหาต่างๆตามมารวมทั้งปัญหาทางการเมืองอย่างยังไม่รู้จะหาทางออกอย่างไรเพราะเคยเชื่อว่าระบอบประชาธิปไตยและทุนนิยมเสรีเป็นคำตอบสุดท้ายจนมีนักวิชาการที่มีชื่อเสียงเชื่อว่ามันเป็นThe End of Historyแล้วแต่มันก็ไม่จริงมันมีอะไรที่ซับซ้อนและลึกกว่านั้น

ประเทศไทยก็เช่นเดียวกันที่พัฒนาไปพัฒนามาบัดนี้สังคมไทยได้ชื่อว่ามีความเหลื่อมล้ำสูงเป็นที่๑หรือที่๓ในโลกความเหลื่อมล้ำกับการขาดความเป็นธรรมอยู่ในกันและกัน

ความเป็นธรรมเป็นเรื่องสำคัญที่สุดของการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ

ถ้าขาดความเป็นธรรมผู้คนจะไม่รักกันและไม่รักส่วนรวม

โครงสร้างที่ขาดความเป็นธรรมคือ “เข่ง” ที่กักขังคนไทยไว้ให้จิกตีกัน

โครงสร้างที่นำไปสู่ความเหลื่อมล้ำสุดๆในสังคมไทยมีหลายมิติที่ถักทอกันอย่างแน่นหนากลายเป็น “เข่ง” แห่งความไม่เป็นธรรมที่แข็งแกร่งประดุจขุนเขาที่ใช้แรงกระแทกเท่าใดๆ ก็แหวกออกไปไม่ได้มีแต่ต้องใช้ปัญญาทำความเข้าใจว่าโครงสร้างอันนำไปสู่ความไม่เป็นธรรมคืออะไรบ้างและจะคลายออกได้อย่างไร

การสร้างความเป็นธรรมเพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยามเป็นเรื่องสำคัญที่สุดของชาติดังพระปฐมบรมราชโองการของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชเมื่อแรกเสด็จขึ้นของราชที่ว่า

“เราจะครองแผ่นดินโดยธรรมเพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม”

แผ่นดินเราต้องมีธรรมครองหรือมีความเป็นธรรมประโยชน์สุขของชาวสยามหรือคนไทยทั้งมวลจึงจะบังเกิด

การสร้างความเป็นธรรมลดความเหลื่อมล้ำจึงควรเป็นระเบียบวาระแห่งชาติ

ในกรณีทีมหมูป่า๑๓คนติดอยู่ในถ้ำหลวงที่จังหวัดเชียงรายอันโด่งดังไปทั่วโลกคนไทยทั้งหมดรวมใจก้าวข้ามการแบ่งแยกทุกประเภทมุ่งมั่นร่วมกันให้เพื่อนร่วมชาติรอดชีวิตปรากฏการณ์นี้แสดงให้เห็นอะไรแสดงให้เห็นว่ามนุษย์ทุกคนมีเมล็ดพันธุ์แห่งความดีอยู่ในหัวใจซึ่งอาจเรียกว่า“หัวใจของความเป็นมนุษย์”ที่เห็นใจ(Empathy)ในความทุกข์ยากของผู้อื่นและต้องการช่วยเหลือให้พ้นทุกข์(Altruism)เมล็ดพันธุ์แห่งความดีนี้อาจถูกกลบฝังลึกอยู่ในหัวใจด้วยความคิดความเชื่อหรือการให้คุณค่าแก่สิ่งอื่นๆเหนือกว่าเช่นกฎหมายกฎระเบียบลัทธิอุดมการณ์หรืออะไรอื่นแต่มาบัดนี้เมื่อสังคมก้าวเข้าสู่ความซับซ้อนและในความซับซ้อนนี้เกิดความไม่เป็นธรรมและความเหลื่อมล้ำอย่างรุนแรงการคิดแบบเป็นข้างเป็นขั้วหรือลัทธิอุดมการณ์ใดๆไม่มีพลังที่จะฝ่าความยากของความซับซ้อนออกมาได้แต่กลับทำให้ขัดแย้งและรุนแรงมากขึ้น

ถึงเวลาที่คนไทยจะต้องทำความเข้าใจว่าการจะออกจากโครงสร้างอันซับซ้อนและยังต้องใช้ใจนำนั่นคือหัวใจของความเป็นมนุษย์ที่ทุกคนมีซ่อนอยู่ในส่วนลึกของหัวใจดังกล่าวข้างต้น

ลัทธิอุดมการณ์การแบ่งเป็นข้างเป็นขั้วทำให้ถูกขั้วตรงข้ามจับไม่มีพลังที่จะทะลุความยากไปได้แต่หัวใจของความเป็นมนุษย์ก้าวข้ามการแบ่งแยกทุกประเภททำให้รวมใจกันได้และจะนำไปสู่การรวมปัญญาเป็นปัญญาร่วม(Collective wisdom)จึงจะฝ่าความยากไปได้ปัญญาของใครคนใดคนหนึ่งหรือพวกใดพวกหนึ่งไม่เพียงพอที่จะฝ่าความยากของสถานการณ์จริงที่ซับซ้อน

ในสถานการณ์ความเป็นจริงใหม่ที่ซับซ้อนและยากเครื่องมือเก่าๆ ที่เคยใช้ได้ผลในสถานการณ์เก่าเช่นอำนาจเงินวาทกรรมบริภาษกรรมหรือการใช้ความรู้สำเร็จรูปไม่ได้ผลแล้วเครื่องมือใหม่คือสังคมา-ปัญญานุภาพหรืออานุภาพแห่งสังคมและปัญญาสังคม-ปัญญานุภาพเกิดจากกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันในการปฏิบัติ(Interactive learning through action)ในสถานการณ์จริงของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องการเรียนรู้ร่วมกันในการปฏิบัติเป็นการเรียนรู้ที่สำคัญที่สุดเพราะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขั้นพื้นฐาน(Transformation)แก่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องเกิดพลังทางสังคมและพลังทางปัญญาอย่างมหาศาลที่ทำให้ฝ่าความยากไปได้

การเรียนรู้ร่วมกันในการปฏิบัตินี้พอทำไปๆยิ่งรักกันมากขึ้นยิ่งเชื่อถือไว้วางใจกันมากขึ้นยิ่งฉลาดมากขึ้นและฉลาดร่วมกันหรือถึงกับเกิดอัจฉริยภาพกลุ่ม(Group genius)พลังทางใจทางสังคมและทางปัญญาอันมหาศาลที่เกิดขึ้นทำให้ฝ่าความยากของโครงสร้างที่ถักทอกันอย่างซับซ้อนไปสู่ความสำเร็จได้และเกิดความสุขร่วมกันประดุจบรรลุนิพพาน

โปรดอ่านข้อความในย่อหน้าข้างต้นช้าๆลึกๆนั่นคือการเปลี่ยนแปลงขั้นพื้นฐาน(Transformation)ที่เกิดไม่ได้จากการต่อสู้เชิงปฏิปักษ์แต่ก็มีคำถามต่อไปว่าแล้วฝ่ายต่างๆที่ต่อสู้ขัดแย้งถึงขั้นมองฝ่ายตรงข้ามเป็นศัตรูจะมาร่วมกันเพื่อขับเคลื่อนการสร้างความเป็นธรรมลดความเหลื่อมล้ำได้อย่างไรดังที่ความพยายามเรื่องความปรองดองและสมานฉันท์ล้มเหลวมาตลอด

เรื่องนี้เมื่อมาถึงบัดนี้ไม่ยากแล้ว !

ด้วยเหตุผล๒ประการคือ
1. วิกฤติความขัดแย้งทางการเมืองมาถึงทางตันแล้วความขัดแย้งทางการเมืองเชิงเป็นปฏิปักษ์และกล่าวหากันได้เพิ่มความรุนแรงขึ้นจนไม่มีทางไปต่อไปเพราะไม่ว่าใครจะชนะหรือไม่มีใครชนะก็แก้ปัญหาของบ้านเมืองไม่ได้ขืนไปต่อแบบนี้ก็จะเข้าไปสู่การนองเลือดมิคสัญญีกลียุคซึ่งไม่มีใครอยากเห็นแต่อยากพลิกสถานการณ์มากกว่าประเทศไทยเคยพลิกสถานการณ์อย่างทันทีทันใดมาแล้วด้วยการยุติการสู้รบกับ “ผู้ร่วมพัฒนาชาติไทย” ที่ร่วมกับพรรคคอมมูนิสต์จับอาวุธต่อสู้อำนาจรัฐโดยใช้คำสั่ง๖๖/๒๕๒๓วิกฤตเมื่อมาถึงจุดพลิกผันเป็นโอกาสที่ประเทศไทยจะพลิกสถานการณ์ไปร่วมกันทำสิ่งยากคือสร้างความเป็นธรรมลดความเหลื่อมล้ำ

2.คนไทยได้สร้างทุนทางสังคมขนาดใหญ่รอไว้ล่วงหน้าเพื่อแก้วิกฤติครั้งนี้เป็นเวลากว่า ๓๐ ปีที่คนไทยจำนวนหนึ่งตระหนักว่าสังคมไทยกำลังเดินเข้าไปสู่ความซับซ้อนมากขึ้นเรื่อยๆ และเผชิญปัญหายากๆ ที่ยากต่อการเข้าใจและแก้ไขจะวิกฤติและขัดแย้งกันมากขึ้นเป็นวิกฤตการณ์คลื่นลูกที่๔แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ซึ่งยากกว่าวิกฤตการณ์คลื่นลูกที่๑–๓การต่อสู้เชิงปฏิปักษ์แบ่งข้างแบ่งขั้วจะไม่สามารถออกจากโครงสร้างที่ซับซ้อนได้แต่จะนำไปสู่ความรุนแรงนองเลือด

คนไทยจำนวนไม่ใช่น้อยต่างกรรมต่างวาระได้พยายามสร้างทุนทางสังคมไว้ใช้ยามประเทศไทยเคลื่อนไปถึงจุดวิกฤตแห่งความแตกแยกทุนทางสังคมที่ว่านั้นประกอบด้วย

1)การวางตัวเป็นกลางไม่เข้าไปสู่ความเป็นข้างเป็นขั้วหรือเกลียดชังฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งซึ่งเมื่อถึงเวลาจะได้มีบทบาทช่วยสมานได้ฝ่ายที่เป็นข้างเป็นขั้วไม่ชอบฝ่ายที่เป็นกลางเพราะอยากให้เข้าข้างตนหรือกล่าวหาว่าเป็นพวกฝ่ายตรงข้ามฝ่ายที่เป็นกลางต้องใช้ความอดทนและการให้อภัยวิถีแห่งมัชฌิมาปฏิปทานี้เติบโตขึ้นมากในสังคมไทยมาก

2.)พลังแห่งสันติวิธีตั้งแต่พ.ศ.๒๕๓๐คนไทยจำนวนหนึ่งตระหนักว่าศตวรรษหน้าจะเป็น ศตวรรษแห่งความขัดแย้งและรุนแรงได้เคลื่อนไหวส่งเสริมให้สร้างความเชี่ยวชาญแก้ไขความขัดแย้งด้วยสันติวิธีในช่วงต้นรัฐบาลทักษิณได้มีการเสนอให้ตั้งคณะกรรมการยุทธศาสตร์สันติวิธีมีนายพิชัยรัตนพลเป็นประธานกรรมการรวมถึงชัยวัฒน์สถาอานันต์มารคตามไทจิราภรณ์บุนนาคพรชัยมาตังคสมบัติอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดลได้ตั้งสถาบันสันติวิธีโดยเชิญโคทมอารียามาเป็นผู้อำนวยการนายแพทย์วันชัยวัฒนศัพท์

อธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่นขณะนั้นได้ทุ่มตัวมาทำงานเรื่องสันติวิธีจนเป็นผู้เชี่ยวชาญแปลและเรียบเรียงหนังสือเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้ถึง๓๓เล่มและมีลูกศิษย์ลูกหามากมายสถาบันพระปกเกล้ามีพลเอกเอกชัยศรีวิลาศผู้อำนวยการสำนักสันติวิธีและธรรมาภิบาลได้ทำหลักสูตร ๔ส(เสริมสร้างสังคมสันติสุข)และหลักสูตรสันติวิธีซึ่งสร้างนักสันติวิธีเป็นจำนวนมากอีกทั้งเกิดสถาบันสันติวิธีขึ้นในมหาวิทยาลัยต่างๆหลายแห่งรวมทั้งในมหาวิทยาลัยสงฆ์ที่พระมหาหรรษาธมฺมหาโสดำเนินการอยู่เหล่านี้เป็นทุนทางสันติวิธีที่เกิดขึ้นในสังคมไทยซึ่งจะนำมาใช้พลิกสถานการณ์วิกฤติ

นอกจากนั้นสถาบันพระปกเกล้ายังสร้างทุนเพื่อประชาธิปไตยที่มีคุณภาพไว้มากและปีนี้ก็ขับเคลื่อนเรื่องการก้าวข้ามความเหลื่อมล้ำเพื่อประชาธิปไตยที่มีคุณภาพ

3) การสร้างฐานของประเทศให้แข็งแรงและมีภูมิคุ้มกันชุมชนท้องถิ่นเป็นฐานของประเทศถ้าฐานของประเทศแข็งแรงจะรองรับประเทศทั้งหมดให้มั่นคงถึงระดับชาติจะวิกฤตอย่างไรๆถ้าฐานของประเทศบูรณาการกันแข็งแรงก็ยังจะไม่เป็นไรหรือฟื้นตัวขึ้นมาจากข้างล่างได้ตามแนวคิด “พระเจดีย์ต้องสร้างจากฐาน”มีผู้คนและองค์กรต่างๆช่วยกันส่งเสริมสนับสนุนความเข้มแข็งของชุมชนท้องถิ่นจนขณะนี้มีผู้นำชุมชนท้องถิ่นที่เก่งๆและดีๆหลายแสนคนแล้วและมีนวัตกรรมดีๆทางสังคมเกิดขึ้นมากมายทั้งนี้ด้วยวิธีคิดแบบประสานไม่ใช่แบ่งแยกและตัดรอนเราจึงเห็นความร่วมมือของทุกฝ่ายทั้งอบต.กำนันผู้ใหญ่บ้านกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นกรมพัฒนาชุมชนกรมการปกครองพอช.สสส.ธกส.และอื่นๆเป็นการถักทอพลังบวกในสังคมไทยขนาดใหญ่ที่สุดพลังบวกที่เกิดจากการถักทอของคนไทยจะเข้ามาพลิกสถานการณ์วิกฤติ

4)ประชาคมจังหวัดในทุกจังหวัดมีการรวมตัวร่วมคิดร่วมทำเป็นประชาสังคมจังหวัดในประเด็นต่างๆรวมทั้งประชาคมสมัชชาสุขภาพซึ่งจะกล่าวถึงต่อไปในข้อ (5)

5)พลังขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะแบบมีส่วนร่วม(Participatory Public Policy Process = P4 )นโยบายสาธารณะมีผลกระทบทุกอณูของสังคมนโยบายสาธารณะที่ดีเป็นปัจจัยสำคัญต่อสุขภาพวะของคนทั้งมวลแต่ก็เป็นเรื่องยากที่สุดเพราะอวิชชาและระบบผลประโยชน์สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ(สช.)ได้รับการจัดตั้งตามกฏหมายเพื่อมาทำพันธกิจที่ยากนี้คือการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะแบบมีส่วนร่วมสช.ได้จัดประชุมสมัชชาสุขภาพแห่งชาติมาเป็นเวลา๑๐ปีโดยมีผู้แทนจากองค์กรต่างๆรวมทั้งจาก

พื้นที่หลายร้อยองค์กรเข้าร่วมเพื่อฝึกคนไทยทุกฝ่ายให้ร่วมกันขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะเป็นสช.จึงเป็นองค์กรที่เชี่ยวชาญที่สุดในเรื่องนี้

การสร้างความเป็นธรรมลดความเหลื่อมล้ำเป็นนโยบายสาธารณะที่สำคัญที่สุดและสช.ก็อยู่ในฐานะที่จะเป็นแกนนำในการชวนทุกฝ่ายในสังคมเข้ามาร่วมกันขับเคลื่อน

ทุนทางสังคมทั้ง๕ประการที่กล่าวมาข้างต้นร่วมกันดำเนินไปบนเส้นทางมัชฌิมาปฏิปทาที่จะดึงคนไทยเข้ามาถักทอพลังบวกในสังคมไทยขนาดใหญ่ด้วยความมุ่งมั่นร่วมกันที่จะสร้างความเป็นธรรมลดความเหลื่อมล้ำ

เริ่มต้นสช.สถาบันพระปกเกล้าและสถาบันสันติวิธีต่างๆรวมทั้งองค์กรอื่นๆที่ทำงานทางมัชฌิมาปฏิปทาพัฒนาประเทศไทยรวมกันเป็นเครือข่ายคนไทยถักทอพลังบวกขับเคลื่อนการสร้างความเป็นธรรมลดความเหลื่อมล้ำเนื่องจากวัตถุประสงค์มีคุณค่าสูงส่งใช้หัวใจคือการทำเพื่อเพื่อนมนุษย์(Heart)ใช้ความรู้และปัญญา(Head)ไม่ใช้พละกำลังหรือความเกลียดชังประกอบด้วยการลงมือทำและการจัดการ(Hand)เครือข่ายถักทอพลังบวกในสังคมไทยจะได้รับความศรัทธาและมีคนเข้าร่วมมากขึ้นๆแม้เริ่มต้นฝ่ายที่ขัดแย้งกันจะยังไม่ถนัดที่จะเข้าร่วมก็ไม่เป็นไรแต่พลังบวกที่เติบใหญ่ในสังคมไทยจะไปลดพลังงานลบหรือลดความเสียหายจากพลังลบและสามารถเปลี่ยนลบเป็นบวกได้ในที่สุด

การถักทอพลังงานบวกในสังคมไทยด้วยมัชฌิมาปฏิปทาเมื่อขับเคลื่อนไปอย่างต่อเนื่องจะไปคลายปุ่มต่างๆที่ผูกกันไว้เป็นโครงสร้างหรือ “เข่ง” ที่กักขังคนไทยไว้ให้จิกตีกันและไปสู่ความเจริญที่แท้จริงไม่ได้เมื่อเราหลุดออกจาก “เข่ง” การถักทอพลังบวกในสังคมไทยด้วยมัชฌิมาปฏิปทาจะเป็นพลังส่งให้สังคมไทยเคลื่อนไปสู่ยุคศรีอาริยะ.