ชัดๆ ‘ดร.ธรณ์’ ฉายภาพ รถไฟไฮสปีดเชื่อม 3 สนามบิน ‘นั่งไปไหนนานแค่ไหนกี่บาท’

ผศ.ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ รองคณบดีฝ่ายกิจการพิเศษและประชาสัมพันธ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว“Thon Thamrongnawasawat” โดยมีรายละเอียดดังนี้

การรถไฟเปิดเผยข้อมูลในสัญญารถไฟไฮสปีด3 สนามบินจึงอยากสรุปให้เพื่อนธรณ์#นั่งรถไฟไปไหนนานแค่ไหนกี่บาท#ยาวแต่อยากให้อ่านเพื่อวางแผนอนาคต

เอกชนเพิ่งลงนามสร้างรถไฟไฮสปีด3 สนามบินดอนเมืองสุวรรณภูมิอู่ตะเภากำหนดเวลาโดยรวมไม่เกิน5 ปีแต่คงทยอยเปิดบริการกันไปเรื่อยๆ

ข้อมูลที่นำมาเขียนผมรวบรวมมาจากสัญญาที่เขาเปิดเผยคงไม่มีการเปลี่ยนแปลงเพราะลงนามกันไปแล้ว

รถไฟแบ่งเป็น3 แบบCity – Express – High Speed

City Line คือAirport Link เปิดบริการ05.00-24.00 .

อัตราค่าโดยสารใกล้เคียงเดิม(สุวรรณภูมิถึงพญาไท) แต่จะมีเพิ่มในส่วนต่อขยาย(พญาไทบางซื่อดอนเมือง)

ถ้าใช้สายนี้วิ่งดอนเมืองสุวรรณภูมิใช้เวลา45 นาทีราคา97 บาท

ถ้ามากัน1-2 คนใช้บริการช่วงเวลาปรกติถือว่าประหยัดค่าใช้จ่าย/เวลามากกว่าแท็กซี่แถมยังคุมเวลาได้ด้วยครับ

คนที่จะต้องใช้สนามบิน2 แห่งเช่นนั่งเครื่องมาลงสุวรรณภูมิต่อโลว์โคสต์ที่ดอนเมืองเชื่อว่าคงยิ้มได้รวมถึงนักท่องเที่ยวจะสะดวกมากขึ้น

ยังรวมถึงคนที่อยู่คอนโดในเมืองมาขึ้นที่พญาไทไปดอนเมือง59 บาทไปสุวรรณภูมิ50 บาท

ถ้าอยู่เยื้องมาแถวอโศกรัชดาขึ้นที่มักกะสันไปดอนเมือง69 บาทไปสุวรรณภูมิ39 บาทคนเรียนลาดกระบังสบายเหมือนกันนะ

แม้บางส่วนจะคล้ายแอร์พอร์ตลิงค์เดิมแต่ที่ปรับปรุงคือช่วงเวลารอรถไฟเร็วขึ้น

จากเดิม15 นาทีกลายเป็นทุก10 นาที(ชั่วโมงเร่งด่วน) และ15 นาทีในช่วงอื่น

คราวนี้มาดูไฮสปีดแบ่งง่ายๆเป็นExpress Line และHigh Speed Line

Express Line วิ่งในเมืองจอดเฉพาะดอนเมืองบางซื่อมักกะสันสุวรรณภูมิ

จากดอนเมืองสุวรรณภูมิ35 นาทีค่าโดยสาร183 บาท

เร็วกว่าCity 10 นาทีแต่จ่ายเพิ่มเกือบเท่าตัวน่าจะเหมาะสำหรับผู้เดินทางคนเดียวจ่ายน้อยกว่าแท็กซี่แต่ถึงเร็วกว่า

สุดท้ายคือHigh Speed Line วิ่งเร็วจี๋250 กม/ชมถือเป็นไฮสปีดสายแรกที่คนไทยจะได้ใช้

รถไฟ8-car Train (8 ตู้) นั่งได้450-600 คนต่อขบวนไม่มีผู้โดยสารยืนจอดสถานีละ1 นาทีให้บริการ06.00-22.00 .

จากสถานีหลักมักกะสันฉะเชิงเทรา210 บาทใช้เวลา30 นาที

ใครคิดมีบ้านในชนบทแต่ทำงานแถวอโศกรัชดามีเงินจ่ายค่าเดินทางวันละ420 บาทคุณอาจสมหวังครับ

ถ้าจะไปเมืองชลใช้เวลาจากมักกะสัน45 นาทีเตรียมเงินไว้287 บาท

คนเมืองชลอยากไปขึ้นเครื่องที่สุวรรณภูมิ238 บาทใช้เวลา30 นาทีอันนี้ได้ใจเผลอๆจะถูกกว่าและเร็วกว่าคนกรุงเทพนั่งแท็กซี่ไปสุวรรณภูมิ

จากมักกะสันไปศรีราชา331 บาทใช้เวลา55 นาที

ลองคิดถึงคนญี่ปุ่น/ต่างชาติเช่าคอนโด/ทำงานออฟฟิศแถวอโศก/รัชดาไปประชุมคุมงานที่ศรีราชาแบบเช้าไปเย็นกลับมันสะดวกเรื่องธุรกิจดีนะ

ถ้าลงเครื่องที่สุวรรณภูมิจะไปศรีราชาทันทีจ่ายเงิน282 บาทใช้เวลา40 นาทีก็ถึง

ด้วยความเร็ว/สะดวกเช่นนี้ศรีราชา/แหลมฉบังจะเปลี่ยนไปอีกเยอะ(ตอนนี้ก็ตึกสูงเพียบ)

หรือแม้แต่คณะประมงเรามีสถานีวิจัยอยู่ติดทะเลศรีราชา(ไม่ใช่ม.เกษตรวิทยาเขตศรีราชานะจ๊ะ)

ตอนนี้ห้างเซนทรัลยักษ์กำลังจะเปิดห่างจากสถานีไปแค่400-500 เมตรแถมนิสิตยังนั่งไฮสปีดไปฝึกงานได้อีกแน่ะ(รีบเข้ามาเรียนสิจ๊ะ)

ผมฝันไว้ว่าจะพยายามผลักดันสถานีแห่งนี้เป็นศูนย์ทำงานเรื่องทะเลและสิ่งแวดล้อมในEEC หวังว่าจะเห็นอะไรบ้างก่อนเกษียณ

คราวนี้มาถึงจุดสำคัญพัทยา

จากมักกะสันจ่ายเงิน379 บาทใช้เวลาไม่ถึง70 นาที(ปรกติขับรถจากบ้านผม2 ชั่วโมงครึ่งถ้ารถติดไม่ต้องพูดถึงจ้ะ)

เหล่านักดำน้ำที่ไปพัทยาเป็นประจำน่าจะยิ้มแป้นไม่ต้องรีบขับรถออกตอนตีห้าครึ่ง/หกโมงแค่ไปขึ้นรถไฟให้ทันเที่ยว7.30 . แปดโมงสี่สิบก็ถึงพัทยาลงเรือ9 โมงน่าจะทันนะ

มาดูนักท่องเที่ยวบ้างลงเครื่องที่สุวรรณภูมิจ่ายเงิน330 บาทใช้เวลา50 นาทีไปถึงพัทยาโอ้ไอเลิฟยู

อ่านแล้วเห็นเลยว่าพัทยาน่าจะมีคนมาอีกเยอะแต่ขึ้นกับการจัดการนำคนจากสถานีเข้าหาด/เมืองว่าจะทำได้เนียนแค่ไหน

(ถ้าลงรถไฟแล้วนั่งรถตู้เข้าไปติดอยู่บนถนนอีกค่อนชั่วโมงอย่างนั้นก็เหนื่อยครับ)

สถานีอยู่แถวถนนสุขุมวิทแหล่งท่องเที่ยวตั้งแต่จอมเทียนบางเสร่จะได้อานิสงส์อีกเยอะ(มอเตอร์เวย์สายใหม่ก็กำลังจะเปิดบริการมีทางลงแถวนี้สองเด้งฮะ)

คราวนี้ลองเทียบว่าค่าตั๋วแพงไหม?

ถ้าเทียบกับรถไฟสายเร็วสุดจากนาริตะโตเกียวใช้สายSkyliner ใช้เวลา50 นาทีค่าตั๋ว2,500 เยนต่อเที่ยว

คิดเรท100 เยน/ 30 บาทของเขา750 บาทของเรา330 บาท(เทียบจากสุวรรณภูมิพัทยาที่ใช้เวลา50 นาที)

แน่นอนว่าคนญี่ปุ่นมีรายได้สูงกว่าคนไทยแต่รถไฟความเร็วสูงของเราก็ต้องสั่งเข้ามาทั้งระบบทั้งขบวนรถมันก็ต้องจ่ายเงินเท่าๆกันจะแพงกว่าด้วยซ้ำเพราะของเราต้องนำเข้าเสียค่าขนส่ง

จะถูกกว่าก็คงเป็นค่าแรงก่อสร้าง/ที่ดินเพราะฉะนั้นสำหรับผมถือว่าค่าตั๋วพอรับได้

รถไฟความเร็วสูงจะตอบโจทย์นักธุรกิจ/นักท่องเที่ยวมากกว่าผู้คนที่สัญจรไปมาทุกวันซึ่งก็เป็นปรกติเหมือนประเทศอื่น

เมื่อดูจากโมเดลชินคันเซนตอนแรกเริ่มโตเกียวนาโกยาโอซากาเราก็เห็นความคล้ายคลึงอยู่นะ

จะเป็นสายกรุงเทพศรีราชาระยอง(ในอนาคตคงต่อไปถึงที่นั่น) เชื่อมต่อกรุงเทพกับแหล่งอุตสาหกรรม/ขนส่ง/พลังงาน(ศรีราชาแหลมฉบังมาบตาพุด)

แต่ของเรายังมีสนามบินตั้ง3 แห่งแถมเมืองท่องเที่ยวใหญ่อย่างพัทยาดูแล้วน่าจะรุ่ง(หวังไว้ครับหวังไว้ฝันให้ไกลหน่อย)

หากมองในด้านการพัฒนาของพื้นที่ผู้เชี่ยวชาญประเมินว่าในปี65 พื้นที่EEC จะมีคน4.38 ล้านคนและจะกลายเป็น6 ล้านคนในปี2580 (สวนทางกับประชากรไทยที่จะลดลง)

และถ้าดูด้านการท่องเที่ยวจะเป็นการเชื่อมต่อเครื่องบินรถไฟรถ(โมโนเรล) –เรือ

เกาะสีชังเกาะล้านจะมีคนเพิ่มมากขึ้นรวมถึงเฟอรี่ข้ามอ่าวพัทยาหัวหิน

ตอบโจทย์นักท่องเที่ยวจากสุวรรณภูมิ50 นาทีถึงพัทยาไปอีก2 ชั่วโมงถึงหัวหิน(330 บาท1,250 บาท)

นั่นคือการพัฒนาและความสะดวกสบายแต่เราก็คงต้องดูด้านความยั่งยืนไปด้วย

เราจะเจอประชากรมากขึ้นนักท่องเที่ยวมากขึ้นฯลฯผลกระทบขยะน้ำเสียการใช้ประโยชน์จากแนวปะการังหาดทรายฯลฯย่อมมีมากขึ้น

เมื่อคิดถึงสภาพปัจจุบันตอนนี้ก็มีเยอะแล้ว

หากเราวางแผนรองรับไม่รอบคอบชกไม่ตรงเป้าเอาแต่ประชุมไม่เกิดความจริงในพื้นที่จนดัชนีขีดความสามารถท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนหล่นตุบมาจนติดกลุ่มบ๊วย(อันดับ130 จาก140 ประเทศ– World Economic Forum)

แม้รถไฟจะเร็วแค่ไหนแต่คุณภาพชีวิตก็ตกต่ำความหวังในการพัฒนาธุรกิจก็มืดหม่นโดยเฉพาะในยุคที่โลกโกกรีนกันเต็มๆเช่นนี้

ทางฝ่ายยุทธศาสตร์EEC ก็วางแผนเรื่องนี้ไว้แต่ขอยกยอดไปพูดถึงคราวหน้าว่าจะเป็นไปได้แค่ไหน?

หนนี้ขอพูดแค่รถไฟไฮสปีดความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ที่กำลังมา

นักสิ่งแวดล้อมจำเป็นต้องรู้เขารู้เราเพื่อการเสนอแนะพูดคุยอย่างทันเหตุการณ์

และคงมีประโยชน์ต่อการวางแผนอนาคตของเพื่อนธรณ์

ทำงานที่ไหนผ่อนคอนโดแถวไหนไปทำไร่ยั่งยืนแถวไหนเปิดร้านอาหารร้านกาแฟฯลฯ

อย่าลืมว่าประชากรไทยกำลังจะลดลงอัตราเพิ่มของนักท่องเที่ยวจะไม่โตเหมือนเดิม

ความเจริญจะไม่กระจายไปทุกแห่งหนแต่จะกระจุกตัวอยู่บางพื้นที่ซึ่งมีการลงทุนเป็นจำนวนมาก

ในประเทศอื่นๆก็คล้ายคลึงกันหลายเมืองในญี่ปุ่นเงียบกริบบ้านร้างมีเพียบ

การทำความเข้าใจกับโลกยุคแห่งความเปลี่ยนแปลงจึงสำคัญมากมาย

เพราะรักเพื่อนธรณ์จึงอยากให้อ่านไม่งั้นเราปรับตัวไม่ทันหรอกครับ

🤗🚅

หมายเหตุราคาค่ารถไฟจากสัญญาร่วมทุนรายละเอียดเพิ่มเติมอ่านเอกสารยาวหลายร้อยหน้าได้ที่

https://www.eeco.or.th/content/เอกสารการเปิดเผยข้อมูลสาระสำคัญของโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน

ใครสงสัยว่าไปไหนกี่นาทีกี่บาทถามได้ในเมนต์จะพยายามเข้ามาตอบครับ

ชัดๆ 'ดร.ธรณ์' ฉายภาพ รถไฟไฮสปีดเชื่อม 3 สนามบิน 'นั่งไปไหนนานแค่ไหนกี่บาท' 1
ชัดๆ 'ดร.ธรณ์' ฉายภาพ รถไฟไฮสปีดเชื่อม 3 สนามบิน 'นั่งไปไหนนานแค่ไหนกี่บาท' 3