‘รัฐธรรมนูญฉบับประชาชน’ ในทัศนะ ‘ผู้แทนนอกสภา’

นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์  ได้แสดงความความคิดเห็นเรื่องรัฐธรรมนูญฉบับประชาชนผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัวโดยมีรายละเอียดดังนี้

(1)

เวลาเราพูดถึงรัฐธรรมนูญมันไม่ง่ายหรอกครับที่จะเข้าใจจนถึงกับเราสามารถวิพากษ์วิจารณ์ได้ว่ารัฐธรรมนูญมีจุดอ่อนจุดแข็งอย่างไรควรแก้ไขจุดไหนบ้างคนไทย(ส่วนหนึ่ง) เชื่อตามที่เขาพูดเราเชื่อคนไหนเราก็ตามคนนั้นไปโดยเราไม่ได้คิดเองที่เราไม่ได้คิดเองเพราะ

1.เราไม่ได้อ่านรัฐธรรมนูญ(หรืออ่านน้อยเกินไป)

2.อ่านแล้วไม่เข้าใจเพราะมันยากดังกล่าวแล้ว

เอาอย่างนี้ครับผมจะอธิบายง่ายๆฉบับชาวบ้านเป็นตอนๆไปรับรองว่าอ่านแล้วท่านออกไปกินกาแฟตอนเช้าสามารถเถียงกับคนข้างๆได้

รัฐธรรมนูญสมัยแรกๆตั้งแต่ปี2475 ประกอบด้วยเรื่อง4 เรื่องคือ

1.เรื่องเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์

2.เรื่องเกี่ยวกับคณะรัฐมนตรี

3.เรื่องเกี่ยวกับส..

4.เรื่องเกี่ยวกับศาล

รัฐธรรมนูญสมัยเริ่มแรกประกอบด้วยเรื่องหลักๆ4 เรื่องนี้ครับต่อมาตั้งแต่ปี2540 รัฐธรรมนูญได้เพิ่มเรื่องที่5 เข้าไปซึ่งถือเป็นการเริ่มปฏิรูปประเทศครั้งใหญ่เลยคือองค์กรอิสระเคยได้ยินไหมครับเวลาเขาเถียงกันเรื่องรัฐธรรมนูญเขามักจะเอ่ยถึงรัฐธรรมนูญฉบับปี2540 ประจำ

ผมจะค่อยอธิบายรัฐธรรมนูญให้ง่ายที่สุดให้อ่านกันเป็นสำนวนชาวบ้านง่ายๆเริ่มต้นด้วยรัฐธรรมนูญฉบับแรกๆก่อนที่มี4 เรื่องคือว่าด้วยพระมหากษัตริย์,รัฐมนตรี,.. และศาลอ่านแล้วสงสัยตอนไหนก็ถามมา

(2)

เหตุที่รัฐธรรมนูญทุกฉบับต้องบัญญัติเรื่องที่เกี่ยวด้วยพระมหากษัตริย์ไว้เพราะประเทศไทยตั้งแต่ก่อตั้งประเทศมีการปกครองโดยพระมหากษัตริย์ตลอดมาซึ่งเหมือนกับประเทศทั่วไปในโลกที่เริ่มต้นประวัติศาสตร์ก็ปกครองด้วยกษัตริย์หรือนักรบ

เพียงแต่หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง2475 จากพระมหากษัตริย์ที่อยู่เหนือกฎหมายก็เป็นพระมหากษัตริย์ที่อยู่ใต้รัฐธรรมนูญในส่วนที่เกี่ยวกับพระมหากษัตริย์รัฐธรรมนูญทุกฉบับก็จะบัญญัติไว้ในมาตราต้นๆว่าประเทศไทยมีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขและรัฐธรรมนูญก็คุ้มครองสถานะของพระมหากษัตริย์ว่าทรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะผู้ใดจะล่วงละเมิดมิได้จะกล่าวหาหรือฟ้องร้องพระมหากษัตริย์ในทางใดๆมิได้

พระมหากษัตริย์ทรงสืบราชสมบัติตามกฎมณเฑียรบาลด้วยการสืบราชสันตติวงศ์จึงถือเป็นภาคบังคับที่รัฐธรรมนูญทุกฉบับต้องบัญญัติเรื่องพระมหากษัตริย์ไว้บางฉบับก็เขียนไว้ยาวบางฉบับก็เขียนไว้สั้นๆ

สถานะของพระมหากษัติย์กับการปกครองในระบอบประชาธิปไตยเป็นไปตามกฎหมาย,รัฐธรรมนูญและส่วนที่อยู่นอกเหนือกฎหมายเรียกว่าราชประเพณีผู้สนใจก็หาอ่านได้จากข้อเขียนของบุคคลที่เชี่ยวชาญในเรื่องนี้เช่น.บวรศักดิ์,.ธงทองและดร.วิษณุหรือข้อเขียนของมรว.คึกฤทธิ์ปราโมชเป็นต้น

#นิพิฏฐ์ผู้แทนนอกสภา

(3)

ในตอนที่2 ได้กล่าวถึงรัฐธรรมนูญในส่วนที่เกี่ยวกับพระมหากษัตริย์ตอนนี้จะกล่าวถึงรัฐธรรมนูญในส่วนที่เกี่ยวกับส.. เราจะได้ยินบ่อยที่หลายคนบ่นว่าอะไรๆก็พูดถึงแต่เรื่องของส.. ไม่เห็นพูดถึงเรื่องของประชาชนบ้างเลย

คนที่พูดอย่างนี้เป็นเพราะเขาเข้าใจผิดรธน.จะไม่เขียนเรื่องของส..ไม่ได้เลยเพราะรธน.เป็นการจัดโครงสร้างของอำนาจเมื่อส..เป็นตัวแทนของประชาชนเราจะพอใจหรือไม่พอใจส..ก็แล้วแต่

แต่รธน.ต้องพูดถึงที่มาของส..ว่าส..มีที่มาอย่างไร,มีคุณสมบัติอย่างไร,มีจำนวนเท่าใด,มีวิธีการเลือกส..อย่างไร,มีความสัมพันธ์กับอำนาจบริหารและอำนาจตุลาการอย่างไรส่วนสมาชิกวุฒิสภานั้นจะมีหรือไม่มีก็ได้

รธน.ในระยะหลังจะเขียนเรื่องส..ไว้ละเอียดยิบเพราะไม่ต้องการให้รัฐบาลไปออกแบบเรื่องของส..เองในภายหลังจะก่อให้เกิดการได้เปรียบเสียเปรียบกันจึงเขียนไว้เแบบตายตัวในรธน.เสียเลยหลักการสำคัญคือประชาชนต้องสามารถเลือกตัวแทนของตนเองได้อย่างอิสระเที่ยงธรรมและเป็นความลับ

เราเคยเห็นเหตุการณ์ที่ครั้งหนึ่งกกต.เคยหันคูหาออกนอกเวลาประชาชนไปเลือกตั้งจึงต้องหันหลังออกนอกคูหาศาลรัฐธรรมนูญเคยตัดสินให้การเลือกตั้งเป็นโมฆะเพราะอาจไม่เป็นความลับคนข้างนอกอาจมองเห็นการกากบาทได้ในระยะหลังคนทุจริตซื้อเสียงบางคนจึงให้เงินชาวบ้านผู้ใช้สิทธิและถ่ายบัตรประชาชนผู้ใช้สิทธิไว้และบอกว่าเมื่อถ่ายบัตรไว้แล้วสามารถตรวจสอบได้ว่าเลือกใครวิธีการนี้แพร่หลายในปัจจุบัน

กล่าวโดยสรุปรัฐธรรมนูญที่ไม่เขียนเรื่องของส..ไว้ไม่ถือว่าเป็นรัฐธรรมนูญประชาชนที่สนใจเรื่องของส..ก็ดูว่ารธน.ออกแบบเรื่องส..ไว้ถูกใจเราหรือยัง.