NGO-ชาวบ้าน เปิดเวทียำใหญ่ ‘จากปารีณา 1,700 ไร่ ถึงกรณีปัญหาที่ดินป่าไม้ของคนจน รัฐบาลประยุทธ์ มีกี่มาตรฐาน’

เมื่อวันที่ 7 ธ.ค. 2562 ที่ตึกคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรม (P-Move) สถาบันวิจัยสังคมจุฬลงกรณ์มหาวิทยาลัย มูลนิธิพัฒนภาคเหนือ (มพน) มูลนิธิชุมชนไท กลุ่มจับตาปัญหาที่ดิน และคณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชน (กป.อพช.) ร่วมกัน ได้จัดเวทีเสวนาเรื่อง “จากปารีณา1,700 ไร่ถึงกรณีปัญหาที่ดินป่าไม้ของคนจน รัฐบาลประยุทธ์มีกี่มาตรฐาน ?”

ภายหลังการเสวนากลุ่มดังกล่าวได้ออกแถลงการณ์ ข้อเรียกร้องต่อรัฐและผู้กี่ยวข้องในการแก้ไขปัญหาที่ดินป่าไม้ โดยเนื้อหาแถลงการณ์ระบุว่า จากการได้จัดเวทีเสวนาเรื่อง จากปารีณา 1,700 ไร่ถึงกรณีปัญหาที่ดินป่าไม้ของคนจน รัฐบาลประยุทธ์มีกี่มาตรฐาน? ผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วยประชาชนนักพัฒนาเอกชนนักวิชาการ และนักกฎหมาย โดยเฉพาะเรื่องราวจากคนเล็กคนน้อยผู้ที่เผชิญกับผลกระทบอย่างรุนแรงจากนโยบายการทวงคืนผืนป่า สะท้อนให้เห็นถึงช่องว่างมหาศาลของสังคมไทย และความเหลื่อมล้ำไร้มาตรฐานเลือกปฏิบัติของรัฐต่อประชาชนคนยากคนจนกับนายทุนและนักการเมืองผู้มีอำนาจอิทธิพล เรามีข้อเรียกร้องดังนี้

  1. การปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมให้เป็นอิสระและให้ความสำคัญกับข้อเท็จจริงจากพื้นที่ พิจารณาให้มีการนิรโทษกรรมให้แก่ชาวบนที่โดนดำเนินคดี อันนื่องมาจากนโยบายทวงคืนผืนป่าและคดีที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะชาวบ้านที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมจากนโยบายของรัฐ รวมถึงความบิดเบือนในการดำเนินการอาทิคดีโลกร้อน โดยจะต้องมีการจัดตั้งกองทุนเยียวยาแก่ผู้ได้รับผลกระทบทั้งในระดับบุคคล ครอบครัวและชุมชนจากกฎหมายนโยบายและการดำเนินการที่ผิดพลาดของทุกหน่วยงาน
  2. รัฐบาลจะต้องยกเลิกนโยบายทวงคืนผืนป่า แผนแม่บทการพิทักษ์ทรัพยากรป่าไม้ชองชาติ พ.ศ.2557 โดยกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักรและกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อยุติการขยายผลกระทบจากนโยบายดังกล่าวทันที และจะต้องให้เอาหน่วยงานทหารและหน่วยงานด้านความมั่นคงออกจากกลไกการแก้ไขปัญหาป่าไม้ที่ดิน เพื่อให้หน่วยงานที่รับผิดชอบ ด้านที่ดินและทรัพยากรป่าไม้สามารถแก้ไขปัญหาร่วมกับชุมชนและผู้ได้รับผลกระทบ
  3. การปฏิรูปกฎหมายป่าไม้ ทบทวนและแก้ไขนิยามคำว่าป่าไม้ตามมาตรา4พระราชบัญญัติป่าไม้พ.ศ.2484 ยกเลิกมติคณะรัฐมนตรี พระราชบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับป่าไม้ที่ดินทุกฉบับรวมทั้งคำสั่งภายใด้รัฐบาลคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) และสภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.) เนื่องจากเป็นนโยบายและกฎหมายที่ขาดการมีส่วนร่วมของประชาชน ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อประชาชนในวงกว้าง รัฐจะต้องทำให้ประชาชนชื่อมั่นว่าการดำเนินทารทางนโยบายและกฎหมายจะต้องยืนอยู่บนหลักการสิทธิมนุษยชน การรับรองสิทธิชุมชน และจะต้องให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารจัดการที่ดินและทรัพยากรธรรมชาติ เพื่อแก้ไขปัญหาควมเหลื่อมล้ำ และประชาชนสามารถเข้าถึงที่ดินอันเป็นปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีวิตและการประกอบอาชีพได้อย่างเป็นธรรม
  4. รัฐจะต้องเปิดเผยข้อมูลการครอบครองที่ดินยกเลิกการประกาศที่ดินรัฐทุกประเภทที่ซ้อนทับกับที่อยู่อาศัยและที่ดินหรือพื้นที่สาธารณะของชุมชน จัดการตรวจสอบและดำเนินการตามกฎหมายอย่างเข้มงวดต่อผู้กระทำผิดในการออกเอกสารสิทธิที่ดินและหรือผู้ที่ครอบครองที่ดินโดยผิดกฎหมายโดยเฉพาะนายทุนและนักการเมืองที่มีการใช้อิทธิพลและอำนาจในการครอบครองที่ดินเพื่อการปฏิรูปที่ดินเพื่อการเกษตรกรรม (สปก) หรือภบท. อย่างมิชอบ รวมถึงให้ผู้เกี่ยวข้องทุกระดับจะต้องแสดง ความรับผิดชอบในทุกกรณีทั้งที่เป็นข่าวและไม่เป็นข่าว

ขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นรรมจะร่วมกับเครือข่ายประชาชนทั่วประเทศเพื่อติดตาม สถานการณ์การจัดการป่าไม้ที่ดินของรัฐและการแป้ญหที่ดินของคนจนตามข้อเรียกรัองดังกล่าวให้มีผลปฏิบัติจนถึงที่สุด.