‘ทรัมป์’ ที่คุณอาจไม่เคยรู้

นายอัษฎางค์ ยมนาค นักประวัติศาสตร์ เผยแพร่ความเรียงเรื่อง “ทรัมป์” ที่คุณอาจไม่เคยรู้ ผ่านเฟซบุ๊กเมื่อวันที่ 9 ม.ค.2563 โดยมีรายละเอียดดังนี้

พ่อของทรัมป์มีเชื้อสายเยอรมัน เป็นนักอสังหาริมทรัพย์ในนิวยอร์ก ส่วนแม่ของทรัมป์อพยพจากสก็อตแลนด์ สู่นิวยอร์ก ทั้งคู่จึงพบกันในนิวยอร์กและแต่งงานกันในปี 1936

ครอบครัวทรัมป์แรกเริ่มสะกดชื่อสกุลว่า Drumpf แต่ถูกเปลี่ยนเป็น Trumps

ดอนัลด์ ทรัมป์เกิดและเติบโตในนครนิวยอร์ก เขาเป็นบุตรคนที่ 4 ใน 5 ของเฟรด ทรัมป์ เศรษฐีผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ในนครนิวยอร์ก

ดอนัลด์ ทรัมป์จบการศึกษาจากโรงเรียนธุรกิจวอร์ตันแห่งมหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย ในปี ค.ศ. 1963 ก่อนจะเข้าร่วมบริษัทของพ่อของเขา ทรัมป์ออร์กาไนเซชัน

ทรัมป์ประสบความสำเร็จหลังรับช่วงธุรกิจต่อจากบิดา โดยเขามุ่งเน้นซื้อขายอสังริมทรัพย์บนเกาะแมนฮัตตัน

………………………………………………………………….
ทรัมป์เข้าสู่เส้นทางการเมืองในช่วงปี 1999 ด้วยการผลักดันตนเองให้ได้เป็นผู้สมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯของพรรคปฏิรูป (Reform Party) แต่ต่อมาภายหลังกลับถอนตัว

อย่างไรก็ตาม ในปี 2015 เขากลับมาประกาศจะลงแข่งขันลงชิงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯ และชนะการเลือกตั้ง ด้วยกลยุทธ์ลับลวงพราง จากการใช้เทคโนโลยีไอทีล้วงข้อมูลมาจากผู้ใช้บริการ Facebook แล้วนำมาวิเคราะห์พฤติกรรมรายบุคคล เพื่อป้อนข้อมูลที่ส่งเสริมสนับสนุนให้ตรงกลุ่มเป้าหมาย

ในขณะที่ฮิลลารี่ ใช้งบโฆษณาทางทีวีมากกว่า 200 ล้านดอลลาร์ ทรัมป์จ่ายเงินเพียง 90 ล้านดอลลาร์ ว่าจ้าง บริษัทอื้อฉาวชื่อ “เคมบริดจ์ อะนาไลติก้า” เพื่อการวิเคราะห์พฤติกรรมจากสเตตัสของผู้ใช้งาน Facebook เพื่อยิงโฆษณาออนไลน์ในเฟซบุ๊กได้ตรงเป้าเป็นรายบุคคล

………………………………………………………………….
ดร.อเล็กซานเดอร์ โคแกน แห่งมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ได้คิดค้นแอพพลิเคชั่นอัจฉริยะชื่อ “This Is Your Digital Life”

ซึ่งมันดูเหมือนว่าเป็นแอพพลิเคชั่นถามตอบทั่วๆไป แต่แอพพลิเคชั่นลับลวงพรางนี้มีเบื้องหลังเพื่อล้วงข้อมูลผู้ใช้งาน

โดยเมื่อคนหลวมตัวตอบรับ อนุญาตให้แอพเข้าถึงข้อมูลส่วนตัวได้ แอพนี้จะสามารถดูดข้อมูลของผู้ใช้ได้ทุกอย่าง ทั้งรูป แมสเซจในอินบ็อกซ์ ข้อมูลในวอลล์ รวมถึงโพรไฟล์ทั้งหมด

แถมแอพนี้จะดูดข้อมูลของจากเพื่อนทุกคนที่ผู้ใช้คนนั้นมี

เช่นถ้าผู้ใช้งานคนนั้นมีเพื่อน 1,000 คน เจ้าของแอพ ก็จะได้ข้อมูลทั้งรูป แมสเซจ ทุกสิ่งทุกอย่าง ของเพื่อนทั้ง 1,000 คนนั้นไปด้วย

แล้วมันมีคนสมัครใช้งานแอพพลิเคชั่น This Is Your Digital Life ทั้งหมด 270,000 คน

แปลว่าแอพสามารถทะลุทะลวงข้อมูลได้ทั้งหมด และข้อมูลส่วนตัว เช่น โพรไฟล์ แมสจ สเตตัสที่อัพเดท ความสนใจในเรื่องต่างๆ ของเพื่อนๆ ของคนที่ใช้แอพไปทั้งหมดราวๆ 50-87 ล้านยูสเซอร์

ซึ่งข้อมูลเหล่านี้มีค่ายิ่งกว่าทอง

ปี 2015 เฟซบุ๊กเห็นช่องโหว่ และสั่งให้ดร.โคแกนทำลายข้อมูลทิ้ง แต่ความจริงเขามีแบล็คอัพข้อมูลผู้ใช้ 87 ล้านคนไว้แล้ว

แล้วเขาขายมันให้กับ “เคมบริดจ์ อะนาไลติก้า”

แล้วทีมหาเสียงของทรัมป์ก็ว่าจ้าง เคมบริดจ์ อะนาไลติก้าด้วยเงิน 90 ล้านดอลลาร์ หรือ 2700 ล้านบาท ให้มาช่วยรณรงค์หาเสียง

………………………………………………………………….
ซึ่งข้อมูลจาก เคมบริดจ์ อะนาไลติก้า สามารถวิเคราะห์พฤติกรรมผู้บริโภคได้อย่างถูกต้องแม่นยำ ทำให้ทีมหาเสียงของทรัมป์ยิงโฆษณาได้อย่างแม่นยำ และส่งตรงเป็นรายบุคคล ทำให้ทรัมป์ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นจนชนะการเลือกตั้ง

จากข้อมูลเหล่านี้จะเห็นได้ว่า ทรัมป์ใช้เครื่องมือทางเทคโนโลยีเป็นกลยุทธ์ ที่ทำให้เขาชนะการเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีสหรัฐฯ

แต่เทคโนโลยีชิ้นนี้ เป็นเทคโนโลยีของกลโกงที่แยบยลอย่างที่สุด

แต่กฎหมายทำอะไรทรัมป์ไม่ได้ เพราะกฎหมายยังล้าสมัยกว่าเทคโนโลยีไอทีหลายสิบปี

………………………………………………………………….
แล้วคิดดูว่าคนที่มีพื้นฐานเป็นนักธุรกิจ มักเป็นคนที่มีทั้งกลยุทธ์และเล่ห์เหลี่ยมแพรวพราว ทั้งบนโต๊ะและใต้โต๊ะ

อดีตนักธุรกิจมากกลยุทธ์และเลห์เหลี่ยมขนาดนี้ จะกลายมาเป็นนักการเมืองที่มีกลยุทธ์และเล่ห์เหลี่ยมแพรวพราวขนาดไหน

และเขาจะใช้กลยุทธ์และเล่ห์เหลี่ยมอันแพรวพราวนั้นบริหารบ้านเมืองอย่างสุจริต หรือจะมีเล่ห์เหลี่ยมที่แยบยลที่ใครต่อใครไม่มีทางรู้ และไม่มีทางจับได้ ง่ายๆ จริงมั้ย

ฟังดูคลับคล้ายคลับคลานักธุรกิจการเมืองชื่อดังของไทยยังไงไม่รู้ ว่ามั้ย.