ปปช.ชี้มูลความผิด ‘ยิ่งลักษณ์’ ครั้งเป็นนายกฯใช้อำนาจมิชอบ เด้ง ‘ถวิล’ จากเลขาฯสมช.ไปนั่งตบยุง

สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.) เผยแพร่เอกสาร ข่าวประจำวันที่ 1 ก.ค.2563 เรื่อง “คณะกรรมการ ป.ป.. ชี้มูลความผิดกรณีนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร มื่อครั้งดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ใช้อำนาจโอนนายถวิล เปลี่ยนศรี เลขาธิการสภาความมั่นองแห่งชาติ (สมช.)ไปดำรงตำแหน่งที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี โดยมิชอบ”

โดยเนื้อหาเอกสารข่าวระบุว่า วันนี้ เวลา 10.00 น. นายนิวัติไชย เกษมมงคล รองเลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช. ในฐานะโฆษกสำนักงาน ป.ป.ช. แถลงว่า คณะกรมการ ป.ป.ช. ได้มีการชี้มูลความผิดกรณี นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร มื่อครั้งดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี กับพวก ใช้อำนาจโอน นายถวิล เปลี่ยนศรี เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.)ให้มาดำรงตำแหน่งที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีฝ่ายข้าราชการประจำโดยมิชอบจากข้อเท็จจริง เมื่อปี พศ. 2554 ขณะนายถวิล เปลี่ยนศรี ดำรงตำแหน่งเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ เป็นหัวหน้าส่วนราชการระดับกรม ขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี มีอำนาจหน้าที่โดยตรงเกี่ยวกับกิจการความมั่นคงของประเทศ โดยเป็นที่ปรึกษา เสนอแนะนโยบาย มาตรการและแนวทางปฏิบัติด้านความมั่นคงแห่งชาติต่อสภาความมั่นคงแห่งชาติ โดยเมื่อวันที่ 4 กันยายน 2554 ซึ่งเป็นวันอาทิตย์ นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ซึ่งดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ได้โทรศัพท์สั่งการให้สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ดำเนินการทำเรื่องขอรับโอนนายถวิล เปลี่ยนศรี เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ มาเป็นที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีฝ่ายข้าราชการประจำ จากนั้นสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีได้มีบันทึกข้อความลงวันที่ 4 กันยายน 2554 ถึงนางสาวกฤษณา สีหลักษณ์ ซึ่งดำรงรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีในขณะนั้น เพื่อขอความยินยอมรับโอนนายถวิล เปลี่ยนศรี มาดำรงตำแหน่งที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีฝ้ยข้าราชการประจำ และได้มีบันทึกข้อความลงวันที่ 4 กันยายน 2554 ถึงพลตำรวจเอกโกวิท วัฒนะ ซึ่งดำรงรองนายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ในฐานะรัฐมนตรีเจ้าสักัดของสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติเพื่อให้ความเห็นชอบและยินยอมการโอนนายถวิล เปลี่ยนศรี มาดำรงตำแหน่งที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีฝ่ายข้าราชการประจำ ซึ่งทั้งนางสาวกฤษณา สีหลักษณ์ และพลตำรวจเอก โกวิท วัฒนะ ต่างให้ความเห็นชอบและยินยอมการโอนดังกล่าว และสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีได้นำเรื่องดังกล่าวเสนอต่อคณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติ

กรณีดังกล่าวสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ได้ตรวจพบว่าวันที่ 4 กันยายน 2554 เป็นวันอาทิตย์ซึ่งเป็นวันหยุดราชการ จึงได้มีกาแก้ไขบันทึกข้อความทั้งสองฉบับดังกล่าวเป็นวันที่ 5กันยายน 2554 แต่เป็นการแก้ก่อนนำเสนอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณา

วันที่ 6 กันยายน 2554 นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีได้อนุมัติให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีเป็นวาระจรและในวันเดียวกันคณะรัฐมนตรีได้มีการประชุมและลงมติรับทราบให้โอนนายถวิล เปลี่ยนศรี มาดำรงตำแหน่งที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีฝ่ายขราชการประจำ ตามที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเสนอ จากนั้นนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ก็ได้มีคำสั่งให้นายถวิล เปลี่ยนศรี มาปฏิบัติราชการ ที่สำนักนายกรัฐมนตรีในตำแหน่งดังกล่าวทันที ซึ่งการแต่งตั้งโยกย้ายดังกล่าว ดำเนินการอย่างเร่งรีบรวบรัด แล้วเสร็จภายใน 4 วัน เท่านั้น

จากนั้นในวันที่ 4 ตุลาคม 2554 คณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุติแต่งตั้งพลตำรวจเอก วิเชียร พจน์โพธิ์ศรีให้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ และในวันที่ 19 ตุลาคม 2554 นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติ (กต.ช) ได้เสนอชื่อพลตำรวจเอก เพรียวพันธ์ ดามาพงศ์รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ที่จะเกษียณอายุราชการ วันที่ 30 กันยายน 2555 และเป็นเครือญาติของตนเองให้ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการตำรจแห่งชาติ แทนตำแหน่งที่ว่างลงต่อที่ประชุม กต.ช. ในการประชุมครั้งที่ 5/2554 วันที่19 ตุลาคม 2554 ซึ่งที่ประชุม ก.ต.ช. มีมติเห็นชอบ

ในกรณีนี้ ศาลปกครองสูงสุดได้มีคำพิพากษา คดีหมายเลขดำ ที่ อ.992/2556 คดีหมายเลขแดงที่อ. 33/2557 ลงวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2557 ว่า การแต่งตั้งโยกย้ายนายถวิล เปลี่ยนศรี จากตำแหน่งเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ ให้มาดำรงตำแหน่งที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีฝ่ายข้าราชการประจำเป็นการลดบทบาทและอำนาจหน้าที่ลง โดยไม่แสดงเหตุผลที่ชอบด้วยกฎหมายและไม่ปรากฎข้อเท็จจริงว่านายถวิล เปลี่ยนศรี ได้ปฏิบัติหน้าที่โดยไม่มีประสิทธิภาพ มีข้อบกพร่องหรือไม่สนองนโยบายของรัฐบาล ซึ่งถือได้ว่ามีเหตุผลสมควรที่ผู้บังคับบัญชาสามารถสั่งโอนได้ตามความเหมาะสม จึงถือได้ว่าเป็นการใช้ดุลพินิจโดยมิชอบ เป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฏหมายอีกทั้งศาลรัฐธรรมนูญได้มีคำวินิจฉัยที่ 9/2557 เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2557 ว่า การกระทำของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็นการกระทำโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายเอื้อประโยชน์ให้พลตำรวจเอก เพรียวพันธ์ ดามาพงศ์ ซึ่งเป็นเครือญาติเข้ามาดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ การกระทำทั้งหมดมิได้เป็นไปเพื่อประโยชน์ของประเทศชาติและของประชาชนแต่อย่างใด อันแสดงให้เห็นถึงการมีผลประโยชน์ทับซ้อนและมีวาระซ่อนเร้น ถือได้ว่าเป็นการกระทำโดยทุจริต

การกระทำดังกล่าวเป็นเหตุให้นายถวิล เปลี่ยนศรี ได้รับความเสียหาย และเป็นการกระทำ เพื่อเอื้อประโยชน์แก่พลตำรวจเอก เพรียวพันธ์ ดามาพงศ์ ซึ่งเป็นเครือญาติของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ให้ขึ้นมาดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติคณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้พิจารณาสำนวนการไต่สวนแล้วเห็นว่า การกระทำของนางสาวยิ่งลักษณ์ชินวัตร ผู้ถูกกล่าวหา มีมูลความผิดทางอาญา ฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริตตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 และฐานเป็นเจ้าหน้ที่ของรัฐปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติอย่างใดในตำแหน่งหรือหน้าที่ หรือใช้อำนาจในตำแหน่งหรือหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดวามเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละวนการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริตตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2554 มาตรา 123/1 ประกอบพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 มาตรา 192

ส่วนผู้ถูกกล่าวหาอื่นเห็นว่าข้อกล่าวหาไม่มีมูล ให้ข้อกล่าวหาตกไป

ให้ส่งรายงาน สำนวนการไต่สวน เอกสาร พยานหลักฐาน และความเห็น พร้อมสำเนาอิเล็กทรอนิกส์ไปยังอัยการสูงสุด เพื่อดำเนินการฟ้องคดีต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองกับนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ตามฐานความผิดดังกล่าว ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พศ 2561 มาตรา 76 ต่อไปจึงแถลงมาให้ทราบโดยทั่วกัน.

ปปช.ชี้มูลความผิด 'ยิ่งลักษณ์' ครั้งเป็นนายกฯใช้อำนาจมิชอบ เด้ง 'ถวิล' จากเลขาฯสมช.ไปนั่งตบยุง 1
ปปช.ชี้มูลความผิด 'ยิ่งลักษณ์' ครั้งเป็นนายกฯใช้อำนาจมิชอบ เด้ง 'ถวิล' จากเลขาฯสมช.ไปนั่งตบยุง 2