รอดพร้อมกัน ‘ศาล รธน.’ ไม่รับคำร้อง ‘ธรรมนัส’ พ้นส.ส.-วินิจฉัย ‘สิระ’ ไม่พ้นสมาชิกภาพ

สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ เผยแพร่เอกสารข่าว ประจำวันที่ 1 ก.ค.2563 โดยมีรายละเอียดว่า วันนี้ ศาลรัฐธรรมนูญประชุมปรึกษาพิจารณาคดีที่สำคัญและเป็นที่สนใจ รวม ๒ เรื่อง

ดังนี้ (๑) ประธานสภาผู้แทนราษฎรส่งคำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ

มาตรา ๘๒ ว่า สมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของนายสิระ เจนจาคะ สิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญมาตรา ๑๐๑ (๗) ประกอบมาตรา ๑๘๕ (๑) หรือไม่

ผลการพิจารณา ศาลรัฐธรรมนูญมีมติโดยเสียงข้างมาก (๗ : ๑) วินิจฉัยว่าสมาชิกภาพ ของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของผู้ถูกร้องไม่สิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๑๐๑ (๗) ประกอบมาตรา ๑๘๕ (๑)

(๒) ประธานสภาผู้แทนราษฎรส่งคำร้องขอให้ศลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๘๒ ว่าสมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า สิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๑๐๑ (๗) ประกอบมาตรา ๑๘๔ วรรคหนึ่ง (๒) และวรรคสาม หรือไม่

ผลการพิจารณา ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาข้อเท็จจริงตามคำร้องและเอกสารประกอบคำร้อง แล้วเห็นว่า แม้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จำนวน ๕๔ คน ซึ่งเป็นจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสิบของจำนวน สมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร เข้าชื่อร้องต่อประธานสภาผู้แทนราษฎร ผู้ร้อง ขอให้ส่งคำร้อง ไปยังศาลรัฐธรรมนูญเพื่อวินิจฉัยว่าสมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของผู้ถูกร้องสิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๑๐๑ (๗) ประกอบมาตรา ด วรรคหนึ่ง ๒) และวรรคสาม และผู้ร้องยื่นคำร้อง ต่อศาลรัฐธรรมนูญแล้วก็ตาม แต่การที่ศาลรัฐธรรมนูญจะรับคำร้องไว้พิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญมาตรา ๘๒ วรรคหนึ่ง หรือไม่ นั้น นอกจากพิจารณากระบวนการส่งคำร้องแล้ว ยังต้องพิจารณาเนื้อหาของคำร้องว่ามีมูลกรณีตามรัฐธรรมนูญหรือไม่ด้วย เนื่องจากรัฐธรรมนูญมิได้กำหนดมาตรการตรวจสอบ มูลกรณีตามคำร้องก่อนส่งมายังศาลรัฐธรรมนูญเพื่อวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๘๒ วรรคหนึ่งเนื่องจากไม่มีกระบวนการกลั่นกรองมูลกรณีตามคำร้องโดยความเห็นชอบของสภาแห่งนั้น ทำให้ศาลรัฐธรรมนูญจำเป็นต้องพิจารณามูลกรณีก่อนที่จะมีคำสั่งรับคำร้องไว้พิจารณา เพื่อให้ความเป็นธรรมแก่ผู้ถูกร้อง

ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาข้อเท็จจริงตามคำร้องและเอกสารประกอบคำร้องแล้วเห็นว่าการที่ภริยาของผู้ถูกร้องถือหุ้นในบริษัท ตลาดคลองเตย (๒๕๕๑) จำกัด และบริษัทฯ ทำสัญญาเช่าพื้นที่กับการท่าเรือแห่งประเทศไทยตามที่กล่าวอ้างในคำร้อง ไม่มีลักษณะเป็นการเข้าทำสัญญาอันเป็นการผูกขาดตัดตอนตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๑๘๔ วรรคหนึ่ง (๒) และวรรคสาม มูลกรณีไม่ต้องด้วยเหตุตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๑๐๑ (๗) ที่ผู้ร้องจะขอให้ศลรัฐธรรมนูญพิจารณาตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๘๒ ได้จึงมีคำสั่งไม่รับคำร้องนี้ไว้พิจารณาวินิจฉัย

รอดพร้อมกัน 'ศาล รธน.' ไม่รับคำร้อง 'ธรรมนัส' พ้นส.ส.-วินิจฉัย 'สิระ' ไม่พ้นสมาชิกภาพ 1
รอดพร้อมกัน 'ศาล รธน.' ไม่รับคำร้อง 'ธรรมนัส' พ้นส.ส.-วินิจฉัย 'สิระ' ไม่พ้นสมาชิกภาพ 2