ร้อนฉ่า ‘จิรายุ’ ท้าดีเบต ‘ดร.เสรี’ ที่จะไปนั่งเก้าอี้ประธานกรรมการปฎิรูปประเทศ ด้านสื่อสารมวลชน

นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ ส.ส.กรุงเทพ พรรคเพื่อไทย ได้โพสต์เฟซบุ๊ก จิรายุ ห่วงทรัพย์ ระบุว่า “ผมอยากดีเบตกับ คุณเสรี วงมณฑา เรื่องการปฏิรูปสื่อ ท่านใดจัดให้หน่อยครับ”

ทั้งนี้จากกรณีที่รัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์ เตียมแต่งตั้ง คณะกรรมการปฎิรูปประเทศ ด้านสื่อสารมวลชน 15 คน โดยมีดร.เสรี วงษ์มณฑา ผู้ร่วมก่อตั้งสถาบันทิศทางไทย และคณาจารย์สถาบันทิศทางไทย นักวิชาการด้านสื่อสารมวลชนและการตลาด เป็นประธาน

ก่อนหน้านี้ทั้งสองวิวาทะกันผ่านโลกออนไลน์มาแล้ว โดยนายจิรายุ กล่าวว่ารัฐบาลควรจะมองเห็นหัวประชาชนบ้าง เพราะวันนี้ระบบกลับเข้าสู่สภาวะปกติแล้ว หากตั้งคนที่อาจจะไม่เป็นกลาง คนที่แสดงตัวตนชัดเจน จะทำงานเหนื่อย และผลจะกลับไปยังนายกรัฐมนตรี ดังนั้นวิธีคิดในการตั้งใครถ้าต้องการแก้ไขปัญหาประเทศอย่างจริงจัง ต้องยึดหลักความเป็นกลางเพื่อจะสามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างจริงจัง ไม่เช่นนั้นแทนที่จะแก้ปัญหาจะกลายเป็นการสร้างปัญหาได้

“ผมไม่ได้สนใจว่าจะตั้งใครเป็นประธาน แต่คณะกรรมการปฎิรูปชุดนี้ต้องมีความชัดเจน ถ้าแก้ปัญหาตรงนี้ไม่ได้ก็อย่าไปคิดแก้ปัญหายุทธศาสตร์ชาติ จะเป็นวิธีลิงแก้แห วัวพันหลัก คนที่เป็นประธานมีเป็นกลางหรือไม่นั้น ที่ผ่านมาเขาแสดงตนอย่างชัดเจน”นายจิรายุ ระบุ

ด้าน ดร.เสรี โพสต์เฟซบุ๊กตอบโต้ว่า งานปฏิรูปสื่อสารมวลชนและเทคโนโลยีสารสนเทศ ไม่ใช่งานประชาสัมพันธ์ของรัฐหรือประธาน IO ที่จะทำให้ฝ่ายสนับสนุนตั้งความหวังด้านการประชาสัมพันธ์ของรัฐ และฝ่ายต่อต้านกลัวความไม่เป็นกลาง ดังนั้นต้องเข้าใจให้ถูกต้องนะคะ

  1. ไม่ใช่ทำหน้าที่ประชาสัมพันธ์
  2. ไม่มีอำนาจควบคุมหนือจัดการสื่อ
  3. มีหน้าที่เสนอแนะว่าสื่อสารมวลชนควรปฏิรูปอย่างไร ให้ทำหน้าที่เป็นโรงเรียนของสังคม
  4. เสนอแนะการกำหนดแนวทางการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ digital technology, social media อย่างมีจริยธรรม ให้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นประโยชน์มากกว่าเป็นโทษ
  5. พัฒนาขีดความสามารถของเจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ของรัฐให้จัดการข่าวสารภาครัฐอย่างมีประสิทธิภาพ
  6. เสนอแนวทางการพัฒนาอุตสาหกรรมสื่อให้เติบโตทางเศรษฐกิจและจิตสำนึกทางสังคม
  7. จัดการรณรงค์ปลูกฝังความสาใารถในการรู้เท่าทีนสื่อให้แก่ประชาชนท่ามกลางเสรีภาพการสื่อสาร
  8. ส่งเสริมให้มีสภาสื่อสารมวลชน เพื่อดำรเสรีภาพการสื่อสารด้วยสำนึกความรับผิดชอบต่อสังคม
  9. ให้รัฐบาลกำกับอุตสาหแรรมสื่อด้วยจิตสำนึกการใฟ้เสรีภาพของการแสดงออก
  10. ปลูกฝังให้สื่อใช้เสรีภาพด้วยความรับผิดชอบต่อสังคมและประเทศชาติ
    ประมาณนี้นะคะ