เปิดเวทีชำแหละ ‘คดีดัง’ พบปัญหานิติวิทยาศาสตร์เพียบ!

ที่สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทยเมื่อวันที่ 10 ..2562 มีการเสวนาวิชาการหัวข้อ “การพิสูจน์หลักฐานวิทยาศาสตร์ของไทยเชื่อถือได้แค่ไหน? ควรปฏิรูปอย่างไร?” (กรณีศึกษาคดีเกาะเต่าคดีน้องหญิงและอีกหลายคดี) จัดโดยสถาบันเพื่อการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม(สป.ยธ.), เครือข่ายประชาชนปฏิรูปตำรวจ(คป.ตร.) และคณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์มหาวิทยาลัยบูรพา

โดยนพ.กฤตินมี วุฒิสม แพทย์นิติเวชศาสตร์ประจำโรงพยาบาลจังหวัดระนองกล่าวว่าในกระบวนการดำเนินการทางอาญายังมีปัญหาในการตรวจหลักฐานการแปลผล  ซึ่งขั้นตอนเหล่านี้มีปัญหาความผิดพลาดได้หมดต้องมีการพิสูจน์ให้สิ้นสงสัยเสียก่อนให้หลักฐานข้อเท็จจริงนิ่งเสียก่อนที่จะให้ความเห็นออกสื่อ 

นายสัญญา เอียดจงดี ทนายความจำเลยสองแรงงานชาวเมียนมาร์ในคดีเกาะเต่าได้หยิบยกคดีเกาะเต่าที่เป็นผลให้คนงานพม่า2 คนต้องโทษประหารชีวิตยังมีข้อโต้แย้งมากในการกลั่นกรองพยานหลักฐาน  ไม่ว่าจะเป็นการชันสูตรพลิกศพหรือขั้นตอนอื่นๆที่ยังไม่สิ้นสงสัยเสียก่อน  ไม่ปล่อยให้มีคำว่าสงสัยหรือปล่อยให้เจ้าหน้าที่รัฐไปดำเนินการโดยไม่มีการถ่วงดุล  เริ่มตั้งแต่ 1.การจับกุมที่จับมาในเรื่องเข้าเมืองผิดกฎหมายซึ่งเป็นความผิดอื่นแล้วมาสอดแทรกในคดีอาญาแบบนี้  ซึ่งเป็นปัญหา 2. การนำบุคคลมาทำแผนแถลงข่าว  มีการรับสารภาพ 3 ตุลาคมแต่จับกุมได้2 ตุลาคม2560

3. ล่ามที่ใช้  มีปัญหามาก  ล่ามทุกคนไม่สามารถเขียนและอ่านภาษาไทยได้  แค่นี้ก็เป็นปัญหาแล้ว 4. การเก็บหลักฐานที่เก็บตอนตีห้าของวันที่ 3 โดยไม่สมัครใจมีการปิดตาทราบมาว่ามีการซ้อมทรมานด้วย   จะน่าเชื่อถือแค่ไหน 5. กระบวนการตรวจDNA ที่เจ้าหน้าที่บอกว่าสอดคล้องกับผู้ตายทั้งสองคนนำมาใช้ได้หรือไม่  มีกระบวนการแปลงนำมาใช้ได้อย่างไรไม่มีใครเห็นกราฟที่พิมพ์ออกมายืนยัน

เรื่องDNA จะมีความน่าเชื่อถือเมื่อผู้ตรวจเป็นผู้เชี่ยวชาญและกระบวนการตรวจสอบต้องตรวจสอบได้   และการให้ผู้เชี่ยวชาญอื่นตรวจสอบหลักฐานชุดเดียวกันได้ด้วยแล้วตรงกันก็จะน่าเชื่อถือแต่โจทย์ไม่ได้นำมาแสดงนายสัญญากล่าว

...วิรุตม์ ศิริสวัสดิบุตร เลขาธิการสถาบันเพื่อการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมกล่าวว่าคดีเกาะเต๋ายังมีข้อสงสัยของผู้รักความยุติธรรมที่มีปัญหามากมาย  โดยเฉพาะชาวพม่าและทนายความที่ยังสงสัยมาก  ไม่ว่าจะเรื่องการไม่ได้หลักฐานDNA ที่จอบซึ่งเป็นอาวุธในการทุบตีและเสื้อผ้าผู้ตาย   มันมีข้อสงสัยว่าพม่าทั้งสองมีการเปลี่ยนแปลงคำสารภาพเป็นปฏิเสธ  และถ้าเป็นคนผิดจริงทำไมไม่รับสารภาพเพื่อรับการลดโทษจะสู้ต่อจนครบสามศาลไปทำไม

...วิรุตม์ กล่าวว่าหลายเรื่องเช่นคดีครูจอมทรัพย์ก็มีปัญหาเรื่องสีรถที่ไม่สามารถตรวจสอบได้ว่าเป็นสีของรถครูไม่มีรอยบุบยุบ  หรือคดีหวย30 ล้านที่ใช้โทรศัพท์มือถือที่ไม่เป็นการพิสูจน์ได้ทางนิติวิทยาศาสตร์  ส่วนสัญญาณโทรศัพท์ก็เป็นพยานหลักฐานแวดล้อมเท่านั้นไม่ใช่นิติวิทยาศาสตร์และซองหวยที่ทำหายไปซึ่งเป็นหลักฐานสำคัญต้องยอมรับว่าในชั้นสอบสวนยังมีปัญหามากการตรวจสอบพิสูจน์ที่ไม่สิ้นสงสัยในคดีน้องเพลงจังหวัดตรังเมื่อหลายปีที่แล้วก็เช่นกันที่บอกว่าหลักฐานใกล้เคียงหรือคดีน้องหญิงก็เช่นกันไม่มีหลักฐานว่านายอ๊อฟไม่ได้ตีแต่อาจทำให้น้องหญิงตกรถส่วนคดีมิกหลงจิก็มีพยานออกมาบอกว่านายมิกไม่ใช่อาชญากรตัวเองก็ขี่จักรยานสวนกับนายมิกในวันเกิดเหตุและคนร้ายที่เรียกชื่อเป็นชื่อบิ๊กไม่ใช่มิก

ปัญหาของไทยเราไม่พยายามหาข้อเท็จจริงเป็นปัญหาของตำรวจด้วยที่มีสายบังคับบัญชาที่ไม่สามารถทำงานได้อย่างอิสระ  และไม่มีการกำหนดคุณสมบัติคนทำงานที่ไม่มีความรู้ไม่ได้รับการอบรม  ไม่ได้เรียนมาทางนิติวิทยาศาสตร์  ในเรื่องเกาะเต่าทางอังกฤษเองก็ไม่มั่นใจกับการตรวจสอบของไทยเราอันที่จริงความยุติธรรมมันต้องยุติที่ความจริงที่ถูกต้องแม่นยำเป็นธรรม  พนักงานสอบสวนต้องไม่เป็นผู้ให้การเอง...วิรุตม์กล่าว

นพ.กฤติน กล่าวเพิ่มเติมว่า การรวบรวมหลักฐานต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญ  ปกติแพทย์นิติเวชจะกระจายตัวอยู่ทั่วไปแต่หลายจังหวัดไม่มีหมอนิติเวช  มีประมาณ50 เปอร์เซ็นต์ส่วนใหญ่ก็ใช้หมอทั่วไปที่มีโอกาสผิดพลาดได้  เราต้องหาระบบที่ใช้หมอนิติวิทยาศาสตร์ได้มากกว่านี้   คำถามคือเราควรใช้อาชีพใดมารวบรวมพยานหลักฐานสำหรับพนักงานสอบสวนตำรวจอัยการ  ต้องมีความรู้เรื่องนิติวิทยาศาสตร์พนักงานสอบสวนต้องประสานการทำงานและใช้เครื่องมืออย่างเหมาะสมเพื่อให้สำนวนมีความน่าเชื่อถือไม่นำไปสู่การยกฟ้องส่วนการแปลผล  ดังเช่นกรณีนายห้างทองที่เป็นตัวอย่างการแปลผลก็ไม่เหมือนกัน

กรณีน้องเมย  ที่หนึ่งบอกว่าไม่พบการถูกทำร้ายอีกที่หนึ่งบอกถูกตีด้วยของแข็งตำรวจด้วยกันก็เห็นแย้งกัน  ดังนั้นการให้มีการตรวจสอบย้อนหลังเมื่อมีการร้องขอ  ควรให้ทำได้เพื่อให้ความชัดเจนปรากฏทุกขั้นตอนควรให้จำเลยสามารถร้องขอได้  ตรวจสอบซ้ำได้ไม่น่าจะเสียหายอะไรถ้าผลออกมาเหมือนเดิมก็จะยิ่งทำให้พยานหลักฐานมัดจำเลยแน่นมากขึ้นนพ.กฤติน 

นพ. สุรเชษฐ์ สถิรมัย อดีตรองปลัดกระทรวงการยุติธรรมและอดีตกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติกล่าวว่าหลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์หากถูกต้องก็จะมีประโยชน์น่าเชื่อถือ  หลายกรณีก็สรุปไม่ได้ว่าตายเพราะอะไร  ระบบคุณภาพพัฒนามาจากวิศวกรคนทำคนอ่านเครื่องมือต้องถูกต้องเจ้าหน้าที่ต้องรู้วิธีการเก็บหลักฐานถูกต้องรักษาความเย็นส่วนเครื่องมือต้องถูกตรวจสอบว่ายังใช้ได้อย่างถูกต้อง  ส่วนกระบวนการและผลที่ออกมาต้องมีคุณภาพมีความไว  ทั้งหมดเป็นพื้นฐานตามหลักวิทยาศาสตร์  และนิติเวชที่เป็นส่วนหนึ่งในนิติวิทยาศาสตร์มันกว้างมากรวมทั้งมีนิติทางเคมี  ชีวะด้วย   ในกระบวนการต้องมีระบบถ่วงดุล  มีหน่วยรับตรวจที่เป็นbalancing 

.. กฤติน   กล่าวเสริมว่า มีกรณีของน้องหญิงที่เกิดเหตุที่บางประอินเริ่มจากพนักงานสอบสวนบอกว่าน้องหญิงตกรถแต่ญาติสงสัยจากสื่อที่มองว่าเป็นฆาตกรรมอำพรางเพราะจำเลยอยู่กับผู้ตายคนสุดท้ายส่วนจำเลยปฏิเสธ   จึงมีการขอให้พนักงานสอบสวนส่งตรวจที่คณะกรรมการกลาง  จำเลยร้องไปที่นิติวิทยาศาสตร์ด้วยแต่ก็ไม่ได้รับการตอบสนอง  แล้วภายหลังมาร้องแพทย์สภาด้วยซึ่งผลออกมาแล้วแต่ไม่แสดงความเห็น  จะเห็นข้อจำกัดทั้งหมดว่าต้องคอยให้ศาลออกหมายมาเท่านั้นและไม่มีการให้ตรวจสอบซ้ำ  ดังนั้นความผิดพลาดเกิดได้ทุกขั้นตอนถ้าเป็นกรณีเวชระเบียนประชาชนขอได้แต่ใบชันสูตรบาดแผลยังเป็นปัญหาเขาอ้างว่าทำตามคำสั่งพนักงานสอบสวน

สรุป    สถาบันนิติศาสตร์ให้ใบบันทึกการชันสูตรบาดแผลแต่ไม่ทราบที่อื่นให้หรือไม่คือให้หรือไม่ให้ก็ไม่ผิดกฎหมาย  มันต้องมีคนที่ออกระเบียบเรื่องนี้ให้ชัดเจน  ยอมให้มีsecond opinion ได้.. กฤติน กล่าว

นพ. วิเชษฐ์ กล่าวว่าการเปิดเผยมันมีกฎหมายพื้นฐานห้ามเปิดเผยความลับของผู้ป่วยหรือศพ  ยกเว้นผู้ป่วยเป็นคนขอเอง   มันมีความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมโอกาสของคนจนมีอยู่น้อยมาก  สมัยก่อนไม่มีการเยียวยาใดๆ   .คณิต ณ นคร เคยเขียนถึงเรื่องกระบวนการยุติธรรมเป็นต้นธารของความเหลื่อมล้ำ   ประเทศไทยมีคนไร้รัฐ7 แสนคนมากที่สุดในอาเซียน  แต่ละคนต้องใช้เงิน 5000 บาทและการแปลผลก็ไม่ง่ายเรามีนักโทษต่อประชากรที่เป็นผู้หญิงมากที่สุดในโลก   เรามีกรณียาเสพติดในเรือนจำมากที่สุดการอำนวยความยุติธรรมต้องลงทุนมากกว่านี้   เรามีมาตรฐานinternal and external audit ดีมากพอมั้ย

นายนิรมาน สุไรมาน ..บัญชีรายชื่อพรรคอนาคตใหม่ กล่าวว่าเราเจอเรื่องที่พูดไม่ได้ในเรื่องสามจังหวัดภาคใต้ไม่ได้  อยากถามว่าเจ้าหน้าที่รัฐมีการเฝ้าระวังมีเวรยามจริงแท้แค่ไหนมีการปกป้องไทยพูทธไทยมุสลิมแค่ไหนเรื่องใบชันสูตรพลิกศพ  พรบ.ข้อมูลข่าวสารควรจะเปิดให้เข้าถึงข่าวสารได้จริง  ตอนนี้สภาพสังคมพร้อมที่จะทำผิดกฎหมายเรายังไม่มีศักยภาพมากพอที่จะไปปรับโครงสร้างเราควรสะท้อนเรื่องที่คุยกันวันนี้ไปยังรัฐบาล  กรรมการทำไมจึงมีความยุ่งยากในการขอsecond opinion ทำอย่างไรให้กระบวนการขอความจริงอย่างรวดเร็วไม่ต้องมีขั้นตอนมากมาย

ดร.วิเชียร  ตันศิริคงคล ประธานสถาบันเพื่อการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม(สป.ยธ.)   กล่าวว่าเห็นด้วยกับความเหลื่อมล้ำในกระบวนการยุติธรรม  คุณมีสิทธิที่จะไม่พูดแล้วขอให้พูดในชั้นศาล   ความน่าเชื่อถือของหลักฐานทางนิติเวชความยุติธรรมในการเข้าถึงทำอย่างไรที่จะทำให้ญาติผู้ตกเป็นผู้ต้องหาสามารถเข้าถึงข้อมูลพยานหลักฐานได้   เมื่อhuman error มันมีจริงเราจะทำอย่างไรให้มีการตรวจสอบมีการประกันคุณภาพ  และตรวจสอบอย่างเป็นวิทยาศาสตร์ 

นายสัญญา กล่าวว่าคดีเกาะเต่ามีปัญหาในเนื้อหาจริงๆคุณหมอวีบอกว่าต้อง99.9999 การตรวจสอบ   DNA ที่ด้ามจอบไม่พบDNA ของผู้ต้องหา  เสื้อของคนร้ายควรจะมีเลือดติดอยู่ด้วยถึงแม้จะซักแล้วก็ยังมีคราบเลือดติดอยู่และที่เกิดเหตุยังมีถุงยางอนามัยที่ใช้แล้วไม่พบDNA ของอสุจิของจำเลยทั้งสอง  ประเทศอังกฤษตรวจซ้ำศพของผู้ตายผู้หญิงมีหลายจุดที่ไม่ตรงกันกับของที่ไทยได้ ตัวแทนนิติวิทยาศาสตร์   ที่มาที่ไปของพยานหลักฐานในหลายๆคดีการได้มาตั้งแต่วันแรกถือว่าเป็นจุดสำคัญมากหลายฝ่ายเข้าไปในจุดเกิดเหตุมีความสำคัญต่อกระบวนการทั้งสิ้นเรายอมให้มีมีมูลนิธิมีไทยมุง   เมื่อเรื่องไปถึงศาลแล้วเราไม่ได้ย้อนมาถึงต้นทางของเรื่อง

พนักงานสอบสวนไม่มีองค์ความรู้ว่าอะไรเป็นพยานหลักฐานหรือไม่เจออะไรก็จะหยิบจับเลยเราต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของพนักงานสอบสวน  หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องสองส่วนคือกองพิสูจน์หลักฐานและสถาบันนิติวิทยาศาสตร์  และต้องให้งบมากพองบประมาณในการดูแลรักษาเครื่องมือก็ถูกตัดลงทุกปีการให้ความสำคัญของสิทธิจำเลยและเหยื่อทายาทโดยธรรมของทั้งสองฝ่ายควรมีสิทธิโดยตรงที่จะเข้าถึงขั้นตอน   รวมทั้งพรบ.ข้อมูลข่าวสาร   การรับฟังพยานหลักฐาน  ศาลจะเชื่อใครมีการพูดถึงระบบมาตรฐานและระบบความน่าเชื่อถือของบุคคลากร  แต่ข้อจำกัดอย่างหนึ่งคือผู้พิพากษามักจะอ่านในส่วนที่ท่านสนใจจึ่งไม่ใช่ทุกท่านที่จะสนใจเมื่อมีหนังสือคำร้องผ่านไปที่ผอ.สถาบัน   ในอดีตถ้ามีข้อร้องเรียนจากจำเลยก็จะขอรับหนังสือตามพรบ.ข้อมูลข่าวสารได้เรื่องต่างๆเป็นเรื่องของเจ้าหน้าที่เจ้าของคดีที่รับผิดชอบด้วยนายสัญญากล่าว

ช่วงท้าย ดร.วิเชียร  กล่าวสรุป   กระบวนการยุติธรรมมันไม่สมบูรณ์โดยตัวของมันเองต้องปรับปรุงอีกมากคุกมีไว้ขังคนจน   แจ้งผู้คนแล้วกล่าวหาไว้ก่อน   จับแพะกระแสสังคมเป็นปัญหาใหญ่ประกอบการต้องการเป็นhero ของบางหน่วยงาน  พยานทางนิติวิทยาศาสตร์ก็ไม่มีทางเห็นติดคุกไปก่อนแล้วค่อยไปหักล้างในชั้นอุทธรณ์แล้วในชั้นนี้มีปัญญาไปหาsecond opinion มั้ย  ควรเอางบประมาณที่เอาคนไปติดคุกไปใช้ในการเสริมเรื่องนิติวิทยาศาสตร์  ต้องลงทุนมากกว่านี้